วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2550

ปลากระดี่แคระ

ปลากระดี่แคระ Dwarf gourami
แหลางที่อยู่อาศัย กระดี่แคระไม่ใช่ปลาพื้นบ้านของเมืองไทยถิ่นที่อยู่อาศัยดั้งเดิมอยู่ที่ประเทศอินเดียตอนใต้ แต่ขณะนี้ได้นำมาเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ในไทย

ลักษณะ กระดี่แคระเป็นปลาแบนด้านข้าง ตามลำตัวมีแถบสีเขียวหรือสีน้ำเงินอ่อนสลับกับสีแดงทั่วไปตามครีบต่างๆ ด้วย กระดี่แคระจัดเป็นปลาที่มีสีสวยและน่ารักกว่าปลากระดี่ด้วยกัน เป็นปลากระดี่ขนาดเล็กที่สุด จึงได้ชื่อว่ากระดี่แคระ โตเต็มที่ความยาว ประมาณ 5-7 ซม.

อุปนิสัย กระดี่แคระเป็นปลาที่รักสงบ ค่อนข้างขี้อายชอบซุกตัวเงียบ ๆ อยู่ตามพันธุ์ไม้น้ำ กิ่งไม้ ตามมุมตู้ ต้องเลี้ยงให้เชื่องจริง ๆ จึงจะออกมาว่ายน้ำให้เห็น ในตู้กระจกถ้าเลี้ยงปะปนกันหลายๆ ตัว บางครั้งก็อาจทำร้ายกัน ไม่ควรปล่อยเลี้ยงมากเกินไปนัก ขณะปล่อยลงเลี้ยงใหม่ ๆ มักไม่ค่อยยอมกินอาหาร พยายามอย่าให้ตกใจ ปลาจะไม่ยอมกินอาหารและถอดสีไม่สวยงาม กระดี่แคระถ้า ปล่อยลงผสมพันธุ์กัน บางครั้งจะทำร้ายตัวเมียจนถึงแก่ความตาย ปลาชนิดนี้ก่อหวอดวางไข่ ตัวผู้ดูแลลูกอ่อนคอยขับไล่ตัวเมียไม่ยอมให้เข้ามาใกล้ ตัวเมียมักเสียชีวิตเมื่อผสมพันธุ์แล้ว ควรรีบตักออกมาเลี้ยงไว้ต่างหาก ไข่ของกระดี่แคระค่อนข้างเล็กมากควรใส่พันธุ์ไม้น้ำหรือ ที่ซุกซ่อนให้ลูกปลาไว้มาก ๆ ลูกปลาจะรอดชีวิตเพิ่มขึ้น

ปลาเทวดา

ปลาเทวดา Angel fish

ประวัติที่อยู่อาศัย ทวีปอเมริกาใต้ ลุมแม่น้ำอเมซอน

ลักษณะ เป็นปลาที่ข้อนข้างแบน ครีบหลังเป็นกระโดงสูงอยู่ค่อนไปทางด้านหาง ครีบหลังบานเป็นแพใหญ่ รูปทรงปลาเทวดาเป็น รูปสามเหลี่ยมมุมฉาก ถือได้ว่าเป็นปลาสวยงามที่มีความสวยงามอย่างมากไม่แพ้ปลาสวยงามประเภทอื่นๆเลย

อุปนิสัย ที่รักสงบ ชอบอยู่นิ่งๆแต่ ในบางครั้งปลาเทวดาก็มีนิสัยก้าวร้าว หวาดระแวง และขี้ตื่นตกใจ

วิธีการเลี้ยง ปลาเทวดาเป็นปลาที่รักสงบ สำหรับอาหารที่ให้ได้แก่ ไรน้ำ ลูกน้ำ เนื้อกุ้งสับ และอาหารเม็ดสำเร็จรูป

วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2550

ปลานกแก้ว


ปลานกแก้ว Scaridae
อยู่ในครอบครัว Scaridaeโตเต็มที่มีขาดประมาณ 30-70 ซ.ม. แหล่งอาศัย อยู่ตามแนวปะการังพบได้ในทะเลอ่าวไทยและฝั่งอันดามันที่พบในประเทศมีมากกว่า20สายพันธุ์ กินฟองปะการังหรือสาหร่าย
เป็นอาหาร บ่อยครั้งจะพบรวมฝูงขณะหาอาหาร เวลาว่ายนำจะดูสง่างามเหมือนนกกำลังบินในอากาศ
ปลานกแก้วเป็นปลาที่มีสีสันสวยงาม โดยปลาตัวผู้จะมีสีสันสวยงามปลาตัวเมีย ลำตัวรียาว ส่วนใหญ่มีครีบหางแบบเว้าโดยขอบบนและขอบล่างของครีบหางมักยื่นยาวออก มีฟันคล้ายๆจะงอยปากนกแก้วเพื่อนำมาใช้ขูดกินปะการัง เวลาถ่ายจะถ่ายออกมาเป็นผงตะกอนซึ่งมีประโยชน์ต่อแนวปะการัง สามารถเปลี่ยนเพศได้ เวลานอนปลานกแก้วจะนอนตามซอกหินแล้วปล่อยเมือกออกมาห่อหุ้มร่างกายเพื่อป้องกันอันตรายจากพวกสัตว์ทะเลต่างๆรวมทั้งพวกหนอนพยาธิปรสิตที่จะมาทำร้ายหรือมารบกวน

ปลาตะเพียนทอง


ปลาตะเพียนทอง Red Tinfoil Barb
ลักษณะทั่วไป เป็นปลาน้ำจืดขนาดกลางมีความยาวประมาณ 3-8 นิ้ว สีสันสวยงาม ลำตัวป้อมแบนข้าง พื้นลำตัวมีสีเงินหรือทอง หัวและปากค่อนข้างเล็ก มีหนวด 2 คู่อยู่ที่ขากรรไกรบนและล่าง ครีบหลังสูงมีสีเทาและส่วนยอดของครีบเป็นสีดำ ครีบหางเป็นเป็นสีเหลือง ขอบหางเป็นสีเทาจาง ๆ ครีบท้องและครีบก้นเป็นสีเหลืองส้มสลับแดง
ถิ่นอาศัย อาหาร ประเทศไทย มีอยู่ทั่วไปในน่านน้ำจืด และบางทีก็เข้าไปอาศัยอยู่ในลำคลอง หนองและบึงต่างๆ และมีชุกชุมมากในภาคกลาง ภาคเหนือเรียกว่า ปลาโมงค่า ภาคอีสานเรียกว่า ปลาปาก ภาคใต้เรียกว่าปลาตะเพียนทอง
อาหารที่กินได้แก่ พืชน้ำและสาหร่ายขนาดเล็ก
พฤติกรรม การสืบพันธุ์ มีความว่องไวและปราดเปรียว อยู่รวมกันเป็นฝูงหากินและวนเวียนอยู่ตามผิวน้ำ

ปลาหมอสี

ปลาหมอสี
ที่อยู่อาศัย มาจากทะเลสาบมาลาวี ทะเลสาบวิคตอเรีย ทวีปแอฟริกา
รูปร่างลักษณะ คล้ายปลาหมอไทยแต่สีสันจะสวยงามกว่ามาก
ปลาหมอสีเป็นปลาที่กำลังเป็นที่นิยมของนักเลี้ยงปลาบ้านเรา แรกทีเดียวก่อนที่จะเข้ามาสู่ตลาดเอเชียนั้น ได้รับความสนใจและนิยมเลี้ยงกันในแถบอเมริกา ยุโรปกันก่อนแล้ว เพราะเป็นปลาตู้ที่เลี้ยงง่าย มีสีสันโดดเด่น สวยงาม และแปลกตา
ปลาหมอสีมีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ตามลุ่มน้ำหรือทะเลสาบในต่างประเทศ มีนิสัยค่อนข้างรักถิ่นฐาน หากมีปลาอื่นบุกรุกเข้ามาในเขตของมัน มันก็จะขับไล่ผู้บุกรุกออกไป

ปลาหางนกยูง


ปลาหางนกยูง Guppy
เป็นปลาอออกลูกเป็นตัว และมีถิ่นกำเนิดทางทวีปอเมริกาใต้แถบเวเนซูเอลล่า หมู่เกาะคาริเบียนของประเทศบาร์บาโดสและในแถบลุ่มน้ำอเมซอน ในธรรมชาติอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดและน้ำกร่อยที่เป็นแหล่งน้ำนิ่งจนถึงน้ำไหลเรื่อยๆ ปลาตัวผู้มีขนาด 3 -5 เซนติเมตร ตัวเมียมีขนาด 5 -7 เซนติเมตร ปลาหางนกยูงที่นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม(Fancy guppies) ซึ่งเป็นปลาที่ได้รับการคัดพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์มาจากพันธุ์พื้นเมือง ( Wild guppies) ที่พบแพร่กระจายอยู่ในธรรมชาติ ลักษณะเด่นที่ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์เพื่อให้ได้สายพันธุ์ใหม่ๆ คือ ลักษณะสีและลวดลายบนลำตัวและลวดลายบนครีบหางและรูปแบบของครีบหาง
ลักษณะที่ดีของปลาหางนกยูง
ลักษณะลำตัว -> มีขนาดใหญ่ หนาสมส่วน ไม่คดงอ
ลักษณะครีบ -> ครีบหางใหญ่ พริ้วหนา แข็งแรงสมบูรณ์ไม่ฉีกขาด ขณะว่ายน้ำพริ้วไม่พับ
สีและลวดลาย -> ถูกต้องตามสายพันธุ์ คมเข้มชัดเจน
ความสมบูรณ์ของลำตัว -> ทรงตัวปกติ

ปลาทอง


ปลาทอง
ประวัติถิ่นที่อยู่อาศัย
ประเทศจีน
รูปร่างลักษณะ
พุงป่องอ้วน ตุ้ยนุ้ย
อุปนิสัย
การฟักตัวของไข่ของปลาทองสามารถปรับอุณหภูมิได้อยู่ระหว่าง 0-35 องศาเซลเซียส ช่วงอุณหภูมิที่ดีที่สุดคือ 20-25 องศาเซลเซียส ปลาทองเป็นปลาที่วางไข่ตลอดทั้งปีแต่จะชุกมากในเดือนเมษายน-ตุลาคม หรือช่วงที่อากาศไม่เย็นจนเกินไป ปลาทองที่วางไข่ครั้งแรกแล้วจะสามารถวางไข่ติดต่อกันไปอีกเป็นเวลาประมาณ 6-7 ปี
การเลี้ยงดู น้ำที่จะใช้เลี้ยงปลาทองหากเป็นน้ำประปาหรือน้ำบาดาลต้องมีการพักน้ำทิ้งไว้ประมาณ 1-2 วัน เพื่อให้สารพิษต่างๆ ที่ปนอยู่ได้คลายตัวไปบ้าง เช่น คลอรีน คาร์บอนไดออกไซด์ การย้ายแม่ปลาทองที่ออกไข่จะต้องย้ายทันทีเมื่อปลาทองวางไข่เพราะมันจะเริ่มกินไข่ของตัวเองทันทีในวันต่อมา